ขั้นตอนตรวจรับบ้าน ทาว์นเฮ้าส์ก่อนโอน ต้องเตรียมตัว และตรวจเช็คอะไรบ้าง

เมื่อคุณจองบ้านในโครงการแล้วบ้านสร้างเสร็จตามกำหนดแล้วขั้นตอนสุดท้ายก่อนโอนบ้านก็คือการตรวจรับบ้าน เช็คความเรียบร้อยของบ้านว่าอยู่ในสาพเรียบร้อยพร้อมโอน หลังจากครบกำหนดทางโครงการแจ้งบ้านเสร็จพร้อมโอนเราก็นัดวันที่จะเข้าไปตรวจรับบ้านกับทางโครงการ ก่อนที่จะนัดกับเซลล์ วิศวะโยธา โฟร์แมน สถาปนิก มาเราอาจเดินตรวจเองก่อนเพื่อจดบันทึกจุดที่มีปัญหาเพื่อบอกช่างให้แก้ไขได้เลย การตรวจรับบ้านควรจดเป็นรายการและถ่ายรูปไว้เป็นลักหลันให้โครงการเซนต์รับทราบแก้ไข และนัดวันตรวจอีกครั้งจนกว่าจะเรียบร้อยสามารถโอนบ้านได้
ไปตรวจรับบ้านควรเตรียมอะไรไปบ้าง
- เตรียมบันไดพับใช้ตรวจใต้หลังคา เข้าทางช่องเซอร์วิส ให้โครงการเตรียมให้หรือเตรียมไปเอง
- สมุดโน๊ตจดข้อมูล + ปากกา/ดินสอ
- อุปกรณ์ทำเครื่องหมาย เช่น ชอล์กสี เทปกาวสีเข้ม ไว่มาร์คจุดที่มีปัญหาเพื่อให้ช่างแก้ไขได้ตรงจุด
- ไฟฉาย เอาไว้ส่องตามที่มืด ซอกแคบๆ
- ไม้ตรง หรือไม้บันทัดเพื่อเช็คระนาบความเอียงของพื้น หรือผนัง หรือถ้าไม่ได้เอาไปก็ดูด้วยสายตา หรือราดน้ำเพื่อดูว่ามีน้ำขังตรงจุดไหนหรือไม่ ก็ใช้ได้แล้ว
- อุปกรณ์สำหรับตรวจชักโครกว่ากดน้ำแล้วลง บางคนใช้ขนมปังก็ได้ หรือลองกดดูก็ได้
- เตรียมกล้องถ่ายไว้เป็นหลักฐานด้วย ให้สะดวกก็ใช้กล้องมือถือ หรือเตรียมกล้องดิจิตัลไปเลยก็ได้
- ไขควงเช็คไฟ ปลั๊กสามตา ควรมีไฟเข้าแค่รูเดียว อีก 2 ไม่ควรมีไฟเข้า
ปล.หาผู้ช่วยตรวจคน อีกคนถ่ายรูปและจดบันทึก
ตรวจรับบ้านควรเช็คอะไร และมีวิธีเช็คอย่างไรบ้าง
- ทดลองใช้สุขภัณฑ์ในบ้านทุกตัว ตรวจดูว่าช่องน้ำล้นของอ่างสุขภัณฑ์
- เปิดก๊อกน้ำเพื่อดูว่าน้ำไหลสะดวกหรือไม่ ท่อตันหรือเปล่า วาล์วสามารถปิดสนิทหรือไม่ และใช้งานได้ทุกตัวหรือไม่
- เปิดปั๊มน้ำแล้วดูว่าปิดน้ำไว้ปุ๊มทำงานหรือไม่ถ้าปั้มน้ำทำงานแสดงว่ามีน้ำรั่วเกิดขึ้น ปั๊มน้ำถึงทำงานตลอด
- ทดสอบเปิดไฟทุกดวงดูว่าใช้งานได้ครบทุกดวงหรือไม่
- ทดลองใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า หากติดแอร์ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ก็ลองเปิดแอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น ตู้เย็น ไมโครเวฟว่าใช้งานได้ไหม ดูการทำงานของสวิตช์ไฟฟ้า
- ตรวจสอบปลั๊กไฟ โดยใช้ไขควงเช็คไฟ อย่างเช่นปลั๊กสามตา ควรมีไฟเข้าแค่รูเดียว อีก 2 ไม่ควรมีไฟเข้า ส่วนปลั๊กไฟฟ้านอกบ้านควรมีตัวปิดกันน้ำให้ด้วยเพื่อไม่ให้โดนน้ำและขณะทำการเช็คไฟให้ใส่รองเท้าและถุงมือเพื่อความปลอดภัยด้วยค่ะ
- ทดสอบไฟฟ้าทุกดวงแล้วไปดูที่มิเตอร์ไฟว่าหมุนหรือเปล่าถ้าหมุนแสดงว่าเกิดไฟฟ้ารั่วขึ้น
- ทดสอบราดน้ำให้ทั่วพื้น ว่าพื้นเอียงให้น้ำไหลลงท่อระบายน้ำหรือไม่ มีน้ำขังเป็นแอ่งหรือไม่ ถ้ามีควรให้ช่างแก้ไข
- ตรวจสอบพื้นว่าพื้นผิวเรียบเนียน มีรอยร้าว แตกลายงาหรือไม่ กระเบี้องปูดีหรือเปล่าสีเดียวกันไหม มีรอยแตก หรือใส่ปูนเต็มทุกแผ่นหรือไม่ แบบแบ่นเคาะดูก็รู้ว่าข้างในกลวงใส่ปูนไม่ครบ
- ตรวจสอบผนังคล้ายๆกับพื้นดูว่ามีรอยร้าว แตกลายงาหรือไม่ เอาไม้ทับดูว่าผนังเอียงได้ฉาก ได้องศาหรือเปล่า ถ้ามีความให้ช่างแก้ไขให้เรียบร้อย
- ส่วนฝ้าเพดาน ดูสีรอยต่อ มีรอยน้ำรั่วหรือเปล่า ถ้าเป็นฝ้าเพดานด้านนองบ้านมีโอกาสถูกความชื้นจองฝนควรใช้ฝ้าแบบกันชื้น
- ตรวจสอบสีของบ้านว่าสีสม่ำเสมอ ไม่มีรอยด่าง มีเนื้อสีหลุดลอกหรือไม่ถ้ามีควรให้ช่างมาเก็บงานสีอีกรอบ
- ทดสอบเปิดปิดประตู หน้าต่าง ตลอดจนประตูรั้วหน้าบ้านว่าใช้งานได้สะดวกหรือไม่ เปิดปิดยาก ฟืด หรือมีเสียงหรือไม่
- ตรวจสอบมุ้งลวดให้ตรวจดูว่ามีรอยขาดหรือเปล่า
- ตรวจสอบดูหลังคา ห้องใต้หลังคา ตรวจสอบว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ ให้ลองฉีดน้ำบนหลังคาให้ทั่ว ดูว่าฝ้าเพดานมีน้ำรั่วหรือไม่
- ตรวจสอบกำแพงว่าเรียบเสมอกันดีหรือเปล่า สีหลุดลอก มีรอยแตกร้าวหรือไม่
- ส่วนเรื่องโครงสร้างต้องให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาช่วยดูให้เพื่อความมั่นใจอีกทีนึงด้วยละครับสำหรับรอยร้าวพวกนี้
พอตรวจสอบเรียบร้อยแล้วบันทึกรายการทั้งหมดแล้ว มอบสำเนาให้กับโครงการหรือผู้รับเหมา นัดวันตรวจครั้งต่อไปหลังจากงานแก้ไขตามรายการดังกล่าว จนกว่าบ้านจะเรียบร้อยทั้งหมดแล้วจึงนัดวันโอนบ้านต่อไป